จากการวางผังโดยรวม ในส่วนของโรงเรียน ได้จัดวางอาคารให้มีส่วน open space อยู่ระหว่างบริเวณที่พักและโรงเรียน เพื่อเป็น Transition และเป็นส่วนขยายตัวในอนาคตของโรงเรียนใน Phase ที่ 2 อีกด้วย
แนวความคิดในการออกแบบอาคารโรงเรียน ก็เช่นเดียวกับส่วนสถาบัน โดยอ้างอิงมาจากแนวคิดทางธรรมชาติ หรือ Natural Pattern ที่เน้นถึงเส้นทางหรือรูปแบบในธรรมชาติ เป็นต้น จึงได้ออกแบบโดยให้ความสำคัญกับการจัด Circulation เป็นหลัก และแยก Zone อาคารเรียนโดยเน้นให้ส่วนด้านหน้าเป็น Public Zone และ Semi Public Zone และให้ห้องสมุดเป็นเสมือนหัวใจหลักของโครงการโดยอยู่ด้านหน้า เห็นได้ชัดที่สุดและเข้าถึงได้ง่ายที่สุดจากทุกที่ในโรงเรียนโดยมีอาคารเรียน 4 ชั้นอยู่ทางด้านตะวันออกและส่วนกีฬาอยู่ทางด้านตะวันตก โดยทั้ง 2 ส่วนมี Outdoor Basketball Court เป็นตัวเชื่อมและเป็น Open Spcae อยู่ตรงกลาง
1 st floor
ชั้น 1 ตัวอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักคืออาคารเรียนทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นห้องเรียน Workshop ที่ต้องการความสูงและ Service ได้ง่าย และอาคารทางด้านทิศตะวันตกเป็นส่วนโรงอาหารที่เชื่อมต่อ Gymnasium โดยส่วนนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งจากอาคารด้านหน้า และด้านหลัง โดยมีส่วน Outdoor Basketball Court อยู่ตรงกลาง ซึ่งจะใช้สนามบาสนี้เป็นลานกิจกรรมเอนกประสงค์เมื่อไม่ได้ใช้เล่นกีฬาได้ เช่น ใช้เป็นที่เคารพธงชาติ เป็นต้น ส่วนนี้ยีงมีทางเดินไหลต่อเนื่องมาเป็นที่นั่งชมกีฬา ไปจนเชื่อมต่อหลังคาของอาคาร Gymnasium ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น Green Roof ไปจนถึงห้องสมุดที่ชั้น 4
2nd floor
ชั้นที่ 2 เป็นชั้นทางเข้าหลัก โดย Visitor ที่มาใช้ห้องประชุมหรือมาติดต่อส่วนสำนักงานและส่วนนิทรรศการสามารถเข้าถึงได้ง่ายหรือใช้บันไดด้านหน้าเพื่อเข้าถึงได้ง่าย ส่วนห้องประชุมใหญ่ยังต่อเนื่องกับ Amphitheater และลานกิจกรรมด้านหน้า โดยสามารถเปิดเชื่อมถึงกันเพื่อรองรับ Event ที่มีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายอีกด้วย ส่วนอาคารด้านหน้านอกจากจะทำหน้าที่เป็น Public Zone แล้ว ยังเป็นเหมือน Semi Public Zone เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อไปถึงอาคารด้านตะวันออกซึ่งถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ห้องเรียน Workshop และห้องนิทรรศการ
3rd floor
ชั้น 3 เป็นส่วนห้องพักครูและห้องเรียนวิชาสามัญ โดยจะมีสะพานเชื่อมต่ดไปยัง green roof ที่หลังคา Gymnasium ได้อีกด้วย
4th floor
ชั้น 4 เป็นห้องสมุด เช่นเดียวกับส่วนมหาวิทยาลัย เนื่องจากห้องสมุดเป็นเสมือนหัวใจหลักของการเรียนรู้แบบสมัยใหม่ที่ไม่ได้เน้นให้เด็กนักเรียนนั่งเรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเสมอไป แต่เน้นให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากสถานที่ที่หลากหลายและเหมาะสมและยังเน้นการค้นคว้าด้วยตนเองของผู้เรียนอีกด้วย เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของแต่ละสาขาวิชา นอกจากจะใช้ค้นคว้าเนื้อหาวิชาเรียนตามปกติ โดยนอกจากห้องสมุดจะเข้าถึงได้ง่ายทั้งจากบันไดที่เชื่อมจากทางเข้าห้องประชุมตรงขึ้นมายังทางเข้าห้องสมุดที่จัดในลักษณะที่นั่งอ่านหนังสือแบบ Informal ในชั้น3 แล้ว ยังเข้าถึงได้ง่ายจากห้อง Lab วิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้ค้นคว้าความรู้ต่อเนื่องมายังทางเข้าห้องสมุดที่ชั้น4 อีกด้วย โดยนอกจากห้องสมุดจะเข้าถึงได้ง่ายนั้น ยังถูกออกแบบให้เชื่อมต่อและมองไปยัง Green Roof ซึ่งเป็นเสมือนห้องเรียนนอกสถานที่อีกด้วย
Facade
ส่วน Facade ของห้องสมุดใช้ pattern ที่ดูเป็นระบบจากธรรมชาติ ซึ่งมาจากสถานะทางธรรมชาติของน้ำเพื่อให้มี effect ของแสงที่น่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน โดยเป็นการใช้ Double Wall เพื่อประหยัดพลังงาน ด้านนอกเป็น precast concrete ซึ่งเป็น pattern 4 แบบสลับไปมา และด้านในเป็นกระจกใส
Lerning Wall
ส่วนอาคารเรียนมีการใช้ระแนงอลูมีเนียมเป็นแผงกันแดด และระแนงนี้ยังใช้เป็น Learning Wall เพื่อให้เป็นผนังแห่งการเรียนรู้ เนื่องจากผนังระแนงอลูมิเนียมนั้น สามารถใช้แขวนสิ่งต่างๆได้ เช่นของที่ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์, การจัดแสดงผลงานต่างๆ เป็นต้น
แนวความคิดด้านการศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยอง
มีงานวิจัยของนักจิตวิทยาที่ค้นพบว่า วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ไม่ใช่ในรูปแบบที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนสถานที่หรือห้องเรียนจะทำให้เกิดเรียนรู้ได้ดีขึ้น และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันในชั่วโมงเดียวกันจะทำให้เรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนรู้อะไรเพียงเรื่องเดียวในชั่วโมงนั้น (จากบางส่วนของบทความ Forget What You Know About Good Study Habits ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ New York Times วันที่ 6 กันยายน 2554 โดย Benedict Care) นอกจากแนวความคิดในส่วนของสถาบันแล้ว อาคารโรงเรียน ได้พัฒนาแนวความคิดที่ว่า การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเรียนแต่ในห้องเรียนเสมอไป อาจจะเรียนจากการเดินในทางเดิน หรือขยายขอบเขตของการเรียนในห้องไปสู่ Learning Terrace หรือ GREEN ROOF ในบางครั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หรือเกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสาขาวิชาอีกด้วย