แนวความคิดในการออกแบบโครงการ
OPEN SPACE FOR PUBLIC
ทางโครงการต้องการสร้างที่โล่งให้กับเมืองโดยให้มีส่วน OPEN SPACE มากขึ้น ลดพื้นที่ปกคลุมดินของอาคารลง เพิ่มพื้นที่เปิดโล่งให้กับเมืองมากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนเมืองโดยรอบ โครงการได้จัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งมากถึง 40% ของพื้นที่โครงการมากกว่ามาตรฐาน พื้นที่เปิดโล่งตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายผังเมือง ซึ่ง B.C.R. (BUILDING COVERAGE RATIO) ตามกฎหมายกำหนด 10% แต่โครงการเตรียมพื้นที่ไว้ถึง 40% และ O.S.R. (OPEN SPACE RATIO) กฎหมาย 4.5% ทางโครงการมีถึง 7.6% ทำให้ลดความหนาแน่นของโครงการที่กระทบกับชุมชนลงได้มากขึ้น ดังนั้นโครงการจึงมีพื้นที่เปิดโล่งเพื่อรองรับกิจกรรมสาธารณะ และเป็นพื้นที่สาธารณะอเนกประสงค์ให้กับชุมชนเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการได้กำหนดให้มีพื้นที่อาคารมากที่สุดเต็มศักยภาพบนที่ดินเท่าที่จะเป็นไปได้ตามการควบคุมความสูง 45 เมตร, กฎหมายควบคุมอาคาร, กฎหมายผังเมือง และกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยมี F.A.R. (FLOOR AREA RATIO) 1:5
GREEN DESIGN
โครงการได้ออกแบบโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) โดยเน้นย้ำถึงการสร้างพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศน์ขนาดใหญ่ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง และไม่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อม
BUILDING SKIN
โครงการได้สร้างผิวเปลือกอาคารหลักโดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนเป็นส่วนใหญ่ ด้วยเส้นสายที่แสดงความอ่อนช้อยของลวดลายไทย เพื่อแสดงความเคลื่อนไหว (DYNAMIC) ตลอดจนผนังบางส่วนเป็น PATTERN ไทยประยุกตร์โดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนเป็นส่วนใหญ่ และผนังส่วนต่างๆก็ยังทำหน้าที่เป็นเปลือกอาคารชั้นนอกที่ช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคาร (ระบบผนัง DOUBLE SKIN) ซึ่งนอกจากที่จะเป็นการสร้างความน่าสนใจและความงามให้แก่ตัวโครงการแล้วยังทำให้อาคารสามารถลดภาระการใช้พลังงานในการทำความเย็นลงได้มากกว่าอาคารทั่วไป
ENERGY CONSERVATION
โครงการได้เน้นการเลือกใช้งานระบบวิศวกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทยทั้งในแง่ของระบบปรับอากาศซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากสุดในการใช้พลังงานทั้งหมด ซึ่งโครงการได้เตรียมใช้เปลือกอาคารที่มีคุณภาพสูง ลดความร้อนเข้าสู่อาคาร เพื่อลดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ ส่วนการใช้พลังงานด้านแสงสว่างโครงการได้เตรียมให้มีการนำแสงเหนือเข้าสู่อาคารทั้งส่วน SHOPPING MALL และส่วนสนักงาน เพื่อนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ให้มากที่สุด
ENVIRONMENT EFFECT
โครงการได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนข้างเคียงและเมืองทั้งในด้านของคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้คนในชุมชน ทั้งในด้านผลกระทบต่อการจราจร ซึ่งได้จัดให้มีระยะของถนนจากที่จอดรถออกไปยังถนนพระราม4 และรัชดาภิเษกที่มีความยาว เมตร เพื่อให้ลดภาระที่จะเกิดกับถนนสาธารณะ ระยะร่นของตัวอาคารกับขอบเขตที่ดินที่มีระยะมากกว่าที่กฎหมายกำหนดเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงระหว่างการก่อสร้าง พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ที่เตรียมไว้เพื่อช่วยสร้างคุณภาพอาคารแก่เมือง